น้ำหนักเท่าไรถึงเรียกว่าอ้วน น้ำหนักเยอะเกินไปไม่ดีต่อสุขภาพ เพราะอาจจะเป็นปัญหาต่อโรคอื่นๆ ตามมาได้ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน ความดัน การดูแลตัวเองและตรวจเช็กค่า BMI จึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่ช่วยบ่งบอกได้ว่า เรามีโอกาสในการเป็นโรคหรือ มีความเสี่ยงด้านสุขภาพมากแค่ไหน แต่การ หาค่า MBI ของร่างกายมีน้อยคนที่จะทราบว่ามีวิธีการคำนวณอย่างไร และ มีเกณฑ์ กำหนดเพื่อแบ่งค่าเพื่อแปลผล
ค่า BMI คือ อะไร
ค่า BMI คือ ค่าดัชนีมวลกายนั้นเอง โดยมีชื่อภาษาอังกฤษว่า Body Mass Index โดยค่า BMI เป็นตัวชี้วัดมาตรฐานความอ้วน ใช้ค่าน้ำหนักและส่วนสูง เพื่อประเมินสภาวะของร่างกายว่า มีความสมดุลต่อน้ำหนัก และส่วนสูงหรือไม่ และสามารถคำนวณสภาพร่างกาย และ ประเมินโอกาสในการเกิดโรคได้อีกด้วย
หาค่า BMI ได้ง่ายๆ เพียงรู้น้ำหนักและส่วนสูงของตัวเอง ซึ่งมีสูตรง่ายๆ เพียงรู้น้ำหนักตัว และส่วนสูง ซึ่งสามารถบอกเราได้ว่า มีค่า BMI เท่าไร สูตรการคำนวณ BMI คือ
สูตรการคำนวณ (BMI) = น้ำหนักตัว[กิโลกรัม] / (ส่วนสูง[เมตร] ยกกำลังสอง)
ซึ่งผลค่าดัชนีมวลกาย สามารถระบุได้ว่า ตอนนี้รูปร่างของคุณ มีค่าความอ้วน อยู่ในระดับใด หรือ อาจจะผอมเกินไป ไม่ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน โดยสูตรการคำนวณนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป การที่ทำให้ร่างกายอยู่ในค่า BMI ปกติอยู่ตลอดเวลา ช่วยให้การรักษาสุขภาพในระยะยาวมีประสิทธิภาพเพิ่มสูงขึ้น
หลังหาค่าด้วยดัชนีมวลกาย หรือ BMI เรียบร้อยแล้ว คุณก็ตรวจเช็กสุขภาพของคุณ โดยค่าเกณฑ์มาตรฐานดัชนีมวลกาย มีอยู่ 5 เกณฑ์ดังนี้
ค่า BMI น้อยกว่า 18.5 เป็นค่าดัชนีมวลกายที่ต่ำกว่ามาตรฐาน ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ ควรเพิ่มน้ำหนักตัวโดยการรีบประทานโปรตีน เพื่อเพิ่มกล้ามเนื้อ
ค่า BMI อยู่ในช่วงระหว่าง 18.5 - 22.9 ค่าดัชนีมวลกายปกติ เป็นค่าที่ดีต้องอยู่ในระดับนี้ ดูแลสุขภาพให้ดีอย่างต่อเนื่อง ไม่ให้น้ำหนักตัวเพิ่มหรือลดลง เพื่อสุขภาพที่ดี
ค่า BMI อยู่ในช่วงระหว่าง 23.0-24.9 ดัชนีมวลกายเกินค่ามาตรฐาน ต้องดูแลอาหารการกินให้ดี หมั่นออกกำลังกาย และกินอาหารให้เป็นเวลา
ค่า BMI อยู่ในช่วงระหว่าง 25.0 - 29.9 มากกว่าค่ามาตรฐาน เข้าสู่โรคอ้วนระดับที่ 1 ต้องใส่ใจในเรื่อง โภชนาการอาหาร และแคลอรี่ในแต่ละวัน ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน ออกกำลังกายให้มากขึ้น
ค่า BMI มากกว่า 30 อ้วนระยะที่ 2 ในระยะนี้คุณเริ่มเข้าสู่โรคอ้วน หากไม่ลดน้ำหนักลง จะมีความเสี่ยงต่อโรคตามมา เช่น หัวใจ เบาหวาน และไม่มีต่อสุขภาพในระยะยาวอีกด้วย
เรื่องสุขภาพเป็นเรื่องที่สำคัญ คนไทยมีค่าเฉลี่ยน้ำหนักมากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก ซึ่งคนไทยส่วนมากไม่ค่อยมี วินัยด้านการกิน การตรวจเช็กค่า BMI ก็เป็นผลดีมากกว่าที่คุณคิด เพราะ ช่วยในการประเมินความเสี่ยงของโรคต่างๆได้ ช่วยในการประเมินไขมันในร่างกาย รวมถึงการวางแผนในการ ควบคุมน้ำหนัก และควบคุมอาหารอีกด้วย
ค่า BMI เป็นเครื่องมือคัดกรอง เบื้องต้นเท่านั้นหากมีความเสี่ยงมากควรหาเวลา ไปตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ตรงมากขึ้น ซึ่งหากใครต้องการควบคุมน้ำหนัก หรือ ควบคุมอาหาร แนะนำให้รับประทานโปรตีน เพื่อลดความอยากอาหาร ด้วย PANAPRO โปรตีนจากพืช 100 % ช่วยควบคุมน้ำหนักได้ดี เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดค่า BMI หรือ ต้องการเพิ่มกล้ามเนื้อ เพิ่มน้ำหนักก็ทานได้แถม ยังดีต่อสุขภาพ เพราะไม่มีน้ำตาล แคลอรี่ต่ำ ทำให้การควบคุมน้ำหนักดีขึ้น อิ่มนาน ไม่หิวง่าย ช่วยให้การลดน้ำหนักเห็นผลดีขึ้น พร้อมออกสูตรใหม่ PANAPRO-Cal เพิ่มแคลเซียม และให้โปรตีนสูงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเสริมโปรตีน และแคลเซียมพร้อมกัน
อ่านบทความเพิ่มเติม :
กินแล้วไม่อ้วน ดีจริง หรือ เสี่ยงโรค น้ำหนักน้อยอย่าชะล่าใจ